กรมธุรกิจพลังงานเยี่ยมชมธุรกิจ BAFS พร้อมหนุนโครงการ SAF เพื่อความยั่งยืนในการใช้เชื้อเพลิงในอนาคต


กรมธุรกิจพลังงาน จัดกิจกรรมศึกษาดูงานการบริหารจัดการเชื้อเพลิงการบินอย่างยั่งยืน บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BAFS) พร้อมเยี่ยมชมและรับฟังความก้าวหน้าของโครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (SAF) ชูแนวทางทำธุรกิจอุตสาหกรรมการบินอย่างยั่งยืนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero 2050

พัทธ์ธีรา สายประทุมทิพย์

พัทธ์ธีรา สายประทุมทิพย์ รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า การศึกษาดูงานที่บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  หรือ BAFS) ครั้งนี้ เพื่อดูการบริหารจัดการเชื้อเพลิงการบินและระบบการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมโดยการนำรถเติมน้ำมันอากาศยานพลังงานไฟฟ้า ( EV Hydrant Dispenser ) มาใช้เป็นครั้งแรก และที่สำคัญคือการพัฒนาโครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ Sustainable Aviation Fuel (SAF) เพื่อความยั่งยืนในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในอนาคต ซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งของกรมธุรกิจพลังงานในการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน

โครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ Sustainable Aviation Fuel (SAF) เป็นหนึ่งในธุรกิจที่จะเกิดขึ้น  ซึ่งอยู่ใน Oil Plan  ของกรมฯ  ทางกรมธุรกิจพลังงานจะให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ศึกษาว่ามีวัตถุดิบชนิดอื่นใด  เพื่อใช้ในโครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ  โดยมีมาตรการสนับสนุนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ    อันดับแรกคือการกำหนดทิศทางโครงการผลิตและเร่งการผลิต คาดว่าจะทราบผลภายใน 2 เดือน

ม.ล.ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล

ด้านม.ล.ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BAFS เปิดเผยว่า กว่า 40 ปีที่ BAFS ดำเนินธุรกิจด้านการบริหารจัดการและการให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน ด้วยมาตรฐาน ความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล    ปัจจุบัน  BAFS  มีกระบวนการจัดเก็บน้ำมันอากาศยานและการตรวจสอบคุณภาพน้ำมัน ทั้งการรับและเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานพร้อมทั้งสูบจ่ายน้ำมันไปยังสนามบิน ผ่านระบบ Hydrant Pipeline Network ประสิทธิภาพสูงทำให้น้ำมัน Jet A-1 ถูกควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ก่อนที่จะจ่ายไป

ยังสนามบิน พร้อมทั้งทำการศึกษาโครงข่ายระบบท่อส่งน้ำมัน ของ บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT)  ซึ่งปัจจุบันได้ขยายการให้บริการสู่ภาคเหนือ ผ่านเส้นทาง บางปะอิน-พิจิตร-ลำปาง ซึ่งคาดการณ์ว่าการขนส่งน้ำมันทางท่อสู่ภาคเหนือ แทนการขนส่งทางรถยนต์จะสามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 153,000 Ton CO2 ต่อปี ทั้งนี้ในปี 2566 สามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 54,000 Ton CO2 ต่อปี หรือเทียบเท่าพื้นที่ป่า 56,482 ไร่  และคาดว่าในปี 2569 สามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 70,000 Ton CO2 ต่อปี หรือเทียบเท่าพื้นที่ป่า 73,684 ไร่

BAFS  ดำเนินกิจการตามแนวทางยั่งยืนโดยคำนึงถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการดำเนินธุรกิจของ BAFS GROUP ทั้งด้าน Sustainable Energy Logistic  ด้วยคลังน้ำมันอากาศยานที่ได้มาตรฐานระดับสากล มีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัยและการบริหารจัดการ เพื่อให้ได้น้ำมันอากาศยานที่มีคุณภาพ ด้าน  Sustainable Energy เป็นประเด็นที่ BAFS ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยกำหนดเป็นแผนงานระยะยาว และมุ่งมั่นศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

รถเติมน้ำมันอากาศยานพลังงานไฟฟ้า ( EV Hydrant Dispenser )

นอกจากนี้ BAFS ยังได้สาธิตการใช้รถเติมน้ำมันอากาศยานพลังงานไฟฟ้า ( EV Hydrant Dispenser ) ซึ่งเป็นรถเติมน้ำมันอากาศยาน ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าทั้งระบบ 100% ผลิตโดยบริษัท บาฟส์ อินเทค จำกัด ให้บริการสายการบิน Air Asia สนามบินดอนเมือง  ในวันที่ 15 พ.ค.2565  โดยได้รับความสนใจจากหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน ที่ได้ประสานงานสั่งซื้อเข้ามาเพื่อนำไปให้บริการในสนามบิน อาทิ กัมพูชา มาเลเซีย และจะให้บริการปลายปี ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

กรมธุรกิจพลังงานเยี่ยมชมธุรกิจ BAFS

ปีนี้  BAFS ตั้งเป้าให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน  4,200 ล้านลิตร ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ให้บริการไปแล้ว  1,800-1,900  ล้านลิตร  ในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่น คาดว่าน่าจะให้บริการได้ตามเป้า เนื่องจากรอเที่ยวบินจากจีนเดิมที่มี 100-120 เที่ยว  จะเพิ่มขึ้นเป็น 400-450 เที่ยวในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้

ม.ล.ณัฐสิทธิ์ กล่าวว่า ล่าสุด BAFS ได้จับมือกับหลายภาคส่วน อาทิ กลุ่มบางจาก กลุ่มมิตรผล ร่วมกันพัฒนาโครงการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ  Sustainable Aviation Fuel (SAF) ซึ่งเป็นโครงการสร้างหน่วยผลิตน้ำมันอากาศยานอย่างยั่งยืนจากน้ำมันที่ใช้แล้ว หรือ จากส่วนเกินเหลือใช้ในกระบวนการเกษตรกรรม เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมการบินในสัดส่วน 50:50  ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero 2050)   แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาน้ำมันในโครงการ  SAF  ยังมีราคาสูงกว่าน้ำมันอากาศยานทั่วไปประมาณ 3-5 เท่า  การจูงใจให้สายการบินนำน้ำมันมาใช้ จะต้องมีราคาใกล้เคียงน้ำมันอากาศยานทั่วไป ซึ่งในสหรัฐอเมริกามีมาตรการ Tax Credit  สนับสนุน 15 บาทต่อลิตร คาดว่าทางภาครัฐจะมีมาตรการสนับสนุนด้านนี้

BAFS

“BAFS ได้รับการรับรอง Carbon Neutral  ตั้งแต่ปี 2562  ในปี  2573 ตั้งเป้าลดคาร์บอนให้ได้ 20%    เตรียมแผนที่จะใช้รถ EV 100% ภายใน 5 ปี  ซึ่งเรื่องนี้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOTให้ความสำคัญจัดหาพื้นที่ในสนามบิน  พร้อมตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2593 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของอุตสาหกรรมการบินที่ตั้งเป้าคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ในปี 2050  ”  ม.ล. ณัฐสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save