เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม


แม้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของไทยจะดีขึ้นตามลำดับ แต่เราก็ต้องยอมรับว่า การพัฒนาในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมากในบ้านเรา

ทุกวันนี้ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมซึ่งเคยถูกมองว่ามีความสำคัญน้อยกว่าปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ได้กลายเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ จนบ่อยครั้งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชน (ผู้ได้รับผลกระทบหรือความเสียหายจากโครงการต่างๆ ของภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐ) กับโรงงานและภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม

ตลอดเวลาที่ผ่านมาแม้จะมีมาตรการและวิธีแก้ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมหลายประการ แต่กฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทยที่เน้นมาตรการกำกับและควบคุมเป็นหลักยังมีข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากความไม่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย บทลงโทษและค่าปรับตามกฎหมายที่ต่ำ และหน่วยงานรัฐยังขาดการติดตามตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษอย่างทันการณ์ด้วยเหตุผลด้านบุคลากร งบประมาณ และอื่นๆ

จึงปรากฏว่าผู้ที่ต้องได้รับผลกระทบจากความไม่เป็นธรรมและการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมจึงมักตกไปอยู่ที่กลุ่มคนที่ยากจนและด้อยโอกาสในสังคม

มลพิษสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรม

ปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้นำ “เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์” (Economic Instruments) มาเสริมมาตรการกำกับและควบคุมดูแลในการบริหารจัดการปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ถือเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งในการสะท้อนต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมตาม “หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pays Principle : PPP) และเป็นมาตรการที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้ก่อมลพิษและผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและดำเนินกิจกรรมที่ลดการสร้างมลพิษสิ่งแวดล้อมด้วย

กฎหมายที่ว่าด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมจึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะมาช่วยเสริมความเข้มแข็งให้แก่กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ โดยการเปิดให้หน่วยงานต่างๆ สามารถนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการบริหารจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมได้อย่างหลากหลายตามความเหมาะสม และตามพันธกิจของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาและมีรายได้จากการบริหารจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมด้วย

เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่านี้ ได้แก่ ค่าปรับ ค่าภาษีการปล่อยมลพิษ การซื้อขายหรือขอใบอนุญาตการปล่อยมลพิษ ค่าธรรมเนียมการอนุญาต การใช้ระบบภาษีที่แตกต่างกัน มาตรการอุดหนุน การวางประกันความเสี่ยงหรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ระบบมัดจำคืนเงิน เป็นต้น

การก่อมลพิษสิ่งแวดล้อม

เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์จะมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภคในการลดการก่อมลพิษสิ่งแวดล้อมและเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลดการก่อมลพิษ

การเก็บภาษีมลพิษตามปริมาณน้ำเสียหรืออากาศเสียที่ระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม จะทำให้ผู้ก่อมลพิษต้องพยายามดำเนินมาตรการหรือปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อทำให้เกิดน้ำเสียหรืออากาศเสียน้อยลง

การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์จึงไม่ใช่การกำกับและควบคุมดูแล แต่เป็นการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจเพื่อให้องค์กรหรือผู้บริหารตระหนักถึงต้นทุนที่แท้จริงของทรัพยากร และคำนึงถึงผลกระทบต่อภายนอกองค์กรของกิจกรรมนั้นๆ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตหรือผู้บริโภคตัดสินใจเองว่าจะดำเนินมาตรการอย่างไรต่อไป หรือจะเลือกผลิตเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดมลพิษน้อยลงประการใดหรือไม่…ครับผม!


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save