เหลียวหลังแลหน้ามองหาพลังงานทดแทน ธุรกิจซื้อขาย PPA (Power Purchase Agreement)


ท่านคงจะมีคำถามว่าปี พ.ศ. 2561 นี้ ทิศทางพลังงานทดแทนเป็นเช่นไร จะรุ่งเรืองหรือร่วงโรยตามภาวะเศรษฐกิจ คงต้องมองภาพรวมเชิงนโยบายก่อน เนื่องจากพลังงานทดแทน (Renewable Energy) เป็นธุรกิจนโยบายของรัฐ ถึงแม้ว่าจะไม่มีพลังงานทดแทนเลยวันนี้คนไทยก็ยังคงมีพลังงานใช้กันอย่างเหลือเฟือ ดังนั้นธุรกิจพลังงานทดแทนจะมีมากน้อยเพียงใดอยู่ที่นโยบายของแต่ละประเทศ โดยคาดหวังว่าพลังงานทดแทนจะช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน และช่วยลด Green House Gas หรือก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน…

วันนี้พลังงานทดแทนไทยมีผู้เล่นและผู้เกี่ยวข้องมากหน้าหลายตาทั้งภาครัฐและเอกชน จะขอกล่าวถึงภาครัฐก่อน นอกจากกระทรวงพลังงานเจ้าของเรื่องของพลังงานเกือบทุกประเภทแล้วก็ยังมีอีกหลายๆ กระทรวงและหลายๆ หน่วยงานของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

  1. กระทรวงพลังงานกระทรวงเกรด A+ ถึงแม้จะมีงบประมาณน้อยแต่มีพลังมากจนเป็นกระทรวงเกรด A+กระทรวงพลังงาน มีนโยบายด้านพลังงานทดแทนที่ชัดเจนคือ ปรับตามแนวทางของรัฐมนตรีแต่ละท่านที่มาเป็นเจ้ากระทรวง มีหลายๆ กรมและหลายๆ หน่วยงานในกระทรวงนี้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน
  2. กกพ. (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) หรือภาษาสากลเรียกว่า Energy Regulator Commission (ERC) เป็นหน่วยงานอิสระสังกัดกระทรวงพลังงานในเกือบทุกๆ ประเทศมักจะมีหน่วยงานนี้ไว้กำกับดูแลด้านพลังงาน ไม่เพียงแต่พลังงานทดแทนแต่ครอบคลุมไปถึงพลังงานอื่นๆ ด้วย ซึ่งแล้วแต่ว่าในประเทศนั้นจะกำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ไว้อย่างไรสำหรับประเทศไทย ERC งานกำกับดูแลหลักก็คือ ไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ สำหรับพลังงานทดแทนแล้ว กกพ. คือหน่วยงานที่รวมศูนย์อำนาจอนุมัติ ตรวจสอบ และตรวจติดตามที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายสูงสุด จนเป็นที่จับตามองทั้งของภาครัฐและเอกชน
  3. คณะกรรมาธิการการพลังงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีคณะอนุกรรมการด้านพลังงานทดแทน ทำหน้าที่ตั้งแต่รับเรื่องร้องเรียน และร่าง พ.ร.บ. ไปจนถึงพิจารณาแก้ไขระเบียบต่างๆ ผลงานที่ชาวพลังทดแทนรอคอยมากที่สุด มีอยู่สองเรื่อง คือ พ.ร.บ.พลังงานทดแทน และ การปรับปรุง พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงานพ.ศ. 2550 ให้ทันสมัย สำหรับ พ.ร.บ.พลังงานทดแทน ได้มีการช่วยกันผลักดันทั้ง สปท. และ สนช. ต่อมาเมื่อ สปท.หมดวาระทางอนุกรรมาธิการพลังงานทดแทน สนช. จึงรับหน้าปรับปรุงร่างส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อีกครั้งหลังจากที่เคยผลักดันและรับฟังความคิดเห็นมาหลายครั้ง…ขอให้ผ่านก่อน สนช.หมดวาระ นั่นคือก่อนการเลือกตั้งใหญ่ทั่วไป
    สำหรับ พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เนื่องจากเก่าและแก่จึงควรมีการแก้ไขปรับปรุงให้ทันยุคทันสมัย กระจายอำนาจให้เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการอุทธรณ์ มีการยกร่างให้บุคคลภายนอกเป็นผู้พิจารณากลั่นกรอง จากเดิม กกพ. (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) ใช้อนุกรรมการรับเรื่องและพิจารณาอุทธรณ์ เกือบจะชุดเดียวกับกรรมการชุดที่ถูกอุทธรณ์ ผลปรากฏว่าไม่ค่อยมีการอุทธรณ์และการอุทธรณ์ก็ไม่เคยชนะ กกพ. ทำให้ฟ้องกันทุกเรื่องไป
  4. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านพลังงาน (สภาปฏิรูปประเทศ) เมื่อ สปท.หมดวาระลงตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ครม.จึงตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน รวมทั้งด้านพลังงาน โดยมี พ.ร.บ.รองรับ และให้ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นฝ่ายเลขาฯ คณะกรรมการทั้ง 11 ด้าน 11 คณะ มีวาระ 5 ปี เพื่อนำผลพวงจากร่างรายงานของ สปท. มาใช้ให้เป็นรูปธรรม อาจมีคำถามว่ากระทรวงต่างๆ จะเห็นชอบและเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย ตามที่คณะกรรมการนี้เสนอหรือไม่ คงต้องรอดูต่อไปในการผลักดันและตรวจติดตามรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาจะขอสรุปโดยย่อสำหรับแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน 6 ด้าน 17 ประเด็นปฏิรูป ดังนี้
    1. ด้านการบริหารการจัดการพลังงาน

    – การปฏิรูปองค์กรด้านพลังงาน

    – การพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ

    – ปฏิรูปการสร้างธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วน

    1. ด้านไฟฟ้า

    – โครงสร้างแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า

    – ส่งเสริมกิจการไฟฟ้าเพื่อเพิ่มการแข่งขัน

    – ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารกิจการไฟฟ้า

    1. ด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมี

    – ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ

    – การพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 4

    1. ด้านการสนับสนุนพลังงานทดแทนเพื่อการส่งเสริม การแข่งขันและสร้าง

        มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

    – ปฏิรูประบบบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวลไม้โตเร็ว สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล

    – แนวทางส่งเสริมและขจัดอุปสรรคในการนำขยะมูลฝอยไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า

    – การส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี

– ปฏิรูปโครงสร้างการใช้พลังงานค่าขนส่งระยะ 20 ปี

    1. ด้านการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

    – การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าในกลุ่มอุตสาหกรรม

    – การใช้ข้อบัญญัติเกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน (Building Energy Code: BEC)

    1. ด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน

    – การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

    – การส่งเสริมเทคโนโลยีระบบการกักเก็บพลังงาน

วันนี้…พลังงานทดแทนไทยยังตั้งอยู่บนธุรกิจการซื้อขาย PPA (Power Purchase Agreement) เป็นสำคัญ ไม่ว่านักลงทุนหรือสถาบันการเงิน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐก็ตาม ถนนทุกสายมุ่งสู่ PPA โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทในตลาดหลักทรัพย์อยากได้ PPA ไว้เพิ่มมูลค่าหุ้นแบบเอาสเต็กมาแลกก็ไม่ยอม ยิ่งเป็นสถาบันการเงินและธนาคารด้วยแล้ว คือผู้ค้า PPA รายสำคัญที่สุด ประโยคแรกที่ท่านเดินเข้าไปเพื่อขอกู้เงิน จะได้ยินคำถามว่า“PPA น่ะมีมั้ย”

วันพรุ่งนี้…หลังจากที่พลังงานทดแทนมีพ.ร.บ.ของตนเองและกลไกการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานผ่าน ครม. ซึ่งวาระการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปด้านพลังงานยาวนานถึง 5 ปี ในอนาคตเราอาจจะมี Solar roof เสรี ไฟฟ้าเสรีPrivate PPA รวมทั้งSmart Micro Grid แถมด้วยโรงไฟฟ้าประชารัฐที่ชุมชนเป็นเจ้าของ 100% และอีกมากมายที่สะดวกสบายกว่าปัจจุบันเมื่อถึงวันนั้นเจ้า PPA อาจกลายเป็นทางเลือกสุดท้ายของธุรกิจพลังงานทดแทนก็ได้


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save