ส.อ.ท. ชูจุดเปลี่ยนของไทย สู่การเป็น Hub ของอาเซียน พร้อมใส่ใจวิกฤตโลกร้อน


ส.อ.ท. ชูจุดเปลี่ยนของไทย สู่การเป็น Hub ของอาเซียน และหันกลับมามองในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม พร้อมกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม 

The Future of Aviation Industry

เมื่อวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2566 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้าร่วมเสวนาในงาน The Future of Aviation Industry การเสวนาดังกล่าว มีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนา ได้แก่ พลอากาศเอก พิธพร กลิ่นเฟื่อง คณบดีวิทยาลัยการบินและคมนาคม ดร.จุฬา สุขมานพงเลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นายหลุยส์ มอเซอร์ ที่ปรึกษา NAA : Narita International Airport Corporation Company ในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และนายวรพจน์ ยศะทัตต์ Advisor Aviation Consultancy Group และ Chairman Indra Sistemas S.A (Thailand) รวมถึงได้รับเกียรติจาก ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกล่าวเปิดงาน ณ ห้อง Auditorium 1 อาคาร 11 ชั้น 14 มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดโดยวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม

The Future of Aviation Industry

นายเกรียงไกร ได้นำเสนอถึงการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีการบินจากอดีตสู่ปัจจุบัน และแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจการบินของไทย ที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น เนื่องจากการท่องเที่ยวของไทยกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังจากการระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ประเทศไทยต้องหันกลับมามองในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม และธุรกิจการบินภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมการบินนั้น ยังอยู่ใน 7 อุตสาหกรรมที่เป็น New S-Curve ที่ไทยต้องเร่งพัฒนา และยกระดับมูลค่า เพื่อให้สอดรับกับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในอนาคต นำไปสู่การแข่งขันกับประเทศอื่นๆ

นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของไทยในการลงทุนในอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงฯ MRO (Maintenance, Repair and Overhual) ช่วยให้เกิดการสร้างแรงงานที่มีทักษะสูงในการซ่อมบำรุงเครื่องบินอีก 2,500-3,000 ตำแหน่ง ซึ่งจะทำให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนซ่อมบำรุงอากาศยานฯ ในอนาคต

การสร้างและพัฒนาอุตสาหกรรรมการบิน ไม่ใช่เพียงเฉพาะเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์เท่านั้น แต่ปัจจุบันยังมี “โดรน” ที่เข้ามาช่วยให้การดำเนินงานหลายๆ ด้าน เพื่อให้เกิดความสะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีการนำไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ เช่น การเกษตร การทหาร การขนส่ง หรือการสำรวจในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก เป็นต้น ซึ่งช่วยในเรื่องความปลอดภัยของบุคลากร รวมถึงต้นทุนการผลิตอีกด้วย รวมถึงไทยยังพัฒนาไปถึงธุรกิจผลิตสีทาเครื่องบิน และบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มที่ให้บริการบนเครื่องบินให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

นโยบายที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ คือ การลดวิกฤตโลกร้อน ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยหันมาใช้พลังงานสีเขียว ที่ปล่อยคาร์บอนต่ำแทน ส.อ.ท. เองได้มีนโยบายในการศึกษา และพัฒนาให้มีการรับรองวัตถุดิบชีวภาพเพื่อใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงของอุตสาหกรรมการบิน (SAF : Sustainable Aviation Fuel) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคการบิน และมีแผนที่จะจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมการบินให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

ในการเสวนา ยังกล่าวถึงประเด็นที่ธุรกิจการบิน และการแข่งขันที่จะเป็น Airline Hub หรือ Hub Airport ที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป อีกทั้งกฎระเบียบต่างๆ ต้องเป็นไปตามระเบียบอย่างสากลที่ได้รับการยอมรับ และการส่งเสริมให้พื้นที่ EEC และพื้นที่โดยรอบ เพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวของไทย ให้เกิดความสะดวก และดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าประเทศเพิ่มมากขึ้น

ข้อมูลจาก : FTI


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save