เกษตรกรรมสีเขียว


ทุกวันนี้ประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ที่ดีมากสําหรับการเกษตรกรรม เพราะมีปัจจัยตามธรรมชาติ เช่น ดิน นํ้า แสงแดด อุณหภูมิ มีชายฝั่งทะเลสองด้าน (ด้าน ทิศตะวันออก คือ อ่าวไทย ทะเลจีนใต้ ส่วนด้านทิศตะวันตก คือ ทะเลอันดามัน) และมีลมมรสุมพัดผ่านสองทิศทาง (ลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ (พ.ค.-ต.ค.) หรือ ลมฝน และลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ย.-ม.ค.) หรือ ลมหนาว) พัดเอา ความชื้นและฝนมาตกตามฤดูกาล ทําให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมกับการทํานา (ปลูกข้าวนาปีและนาปรังได้ปีละหลาย ครั้ง) รวมทั้งการทําพืชไร่ พืชสวน การประมง และการปศุสัตว์ ด้วย

ดังนั้น การเกษตรบ้านเราจึงมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ หรือเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นต้นทุนเดิมที่สูงมาก

แม้ว่าแต่ละปีเกษตรกรจะเป็นผู้ผลิตพืชผลทางการเกษตร ได้จํานวนมาก แต่ตราบใดที่เกษตรกรผลิตและขายผลผลิตเป็น วัตถุดิบเลย ก็จะพบกับปัญหาด้านราคาสินค้าเกษตรตกตํ่า และ เกษตรกรจะมีอํานาจต่อรองราคาผลผลิตน้อยด้วย

การที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องราคาพืชผลตกตํ่าและสามารถ สร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรผู้ผลิตซึ่งเป็น “ต้นนํ้า” นั้น นอกเหนือจากการประกันราคาและการใช้เงิน อุดหนุนพืชผลทางเกษตรแล้ว เราควรจะต้องทําอย่างครบวงจร ด้วย “วิถีทางอุตสาหกรรม” ด้วย (คือการเชื่อมโยงผลผลิต จากต้นนํ้าเข้าสู่กลางนํ้าจนถึงปลายนํ้า เป็นกระบวนการผลิตที่ ต่อเนื่องกันจนถึงการขายผลิตภัณฑ์หรือสินค้าได้อย่างยั่งยืน)

หลักการสําคัญก็คือ การสร้างกลไกที่สามารถสร้าง มูลค่าเพิ่มให้พืชผลทางการเกษตรอย่างเป็นระบบแบบ ครบวงจร เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสร้างอํานาจการต่อรอง ให้เกษตรกร แทนที่จะขายเป็นวัตถุดิบเบื้องต้นเท่านั้น

ถึงแม้ว่าปัจจุบันเกษตรกรจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการขายพืชผลทางการเกษตรได้มากขึ้น แต่ก็เป็นเพียง “ต้นนํ้า” เท่านั้น ส่วนกลางนํ้าและปลายนํ้ายังขาดการเชื่อมโยง (เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม) และขาดเทคโนโลยี (เพื่อเพิ่มผลิตภาพ) ซึ่งต้องอาศัยหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อช่วยกัน สร้าง “ห่วงโซ่แห่งคุณค่า” (Value Chain) ให้ครบวงจร

“เกษตรอุตสาหกรรม”(Agro-Industry) จึงเป็น “คําตอบ” ในวันนี้

“เกษตรอุตสาหกรรม” (Agro-Industry) (หลายท่าน เรียกว่า “อุตสาหกรรมเกษตร”) หมายถึง การดําเนินการ ผลิตพืช ผลิตสัตว์ และการแปรรูปวัตถุดิบที่เป็นพืชและสัตว์ ให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค โดยผ่าน กระบวนการแปรรูปด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งใช้เครื่องจักกลหรือ หลายๆ วิธีร่วมกันก็ได้ รวมตลอดถึงการจําหน่ายผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตได้นั้นด้วย เช่น การผลิตอาหารสําเร็จรูปจากโรงงาน หรือในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น

องค์ประกอบที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ให้เป็นทุนเดิมใน การผลิตพืชผลทางการเกษตรของไทย จึงเปรียบเสมือนเป็น “สุวรรณภูมิ” โดยแท้ เช่น พื้นที่ลุ่มภาคกลางของประเทศไทย เป็นแผ่นดินทองที่เหมาะกับการปลูกข้าวที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ในโลก เป็นต้น

แต่ปัจจัยที่มนุษย์เราจะต้องเสาะหาเพื่อเพิ่มความ สามารถในการแข่งขันก็คือ “พันธุ์พืชและชนิดพืช” ที่เหมาะสม กับพื้นที่เกษตรแต่ละแห่ง จากนั้นก็ใช้เทคโนโลยีและ การบริหารจัดการใส่เข้าไปในกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพในปริมาณสูง และใช้บริโภคเป็นอาหาร ที่ปลอดภัยต่อคนและสัตว์ และที่สําคัญก็คือ กระบวนการ ผลิตนั้นๆ จะต้องไม่ก่อให้เกิดขยะ นํ้าเสีย มลพิษทางอากาศ และสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีเกิดขึ้นด้วย มิฉะนั้นจะเกิดผลกระทบ ระยะยาว และมีผลต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (Climate Change) ที่เป็นปัญหาของโลกในปัจจุบัน ครับผม!


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 118 กรกฎาคม – สิงหาคม 2566 คอลัมน์ Productivity โดย ดร. วิฑูรย์ สิมะโชคดี


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save