จ.สุราษฎร์ฯ จับมือ RSPO และภาคีพันธมิตร ยกระดับจังหวัดสู่ ต้นแบบเมืองปาล์มน้ำมันยั่งยืนของไทย


ปัจจุบัน ประเทศไทย เป็นประเทศผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอันดับ 3 ของโลก ซึ่งมีพื้นที่ปลูก 4.5 ล้านไร่ รองจากอินโดนีเซีย (58 ล้านไร่) และมาเลเซีย (35 ล้านไร่) โดยกว่าร้อยละ 70 ผู้ผลิตปาล์มน้ำมันของไทยเป็นเกษตรกรรายย่อย พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้

ทั้งนี้ “สุราษฎร์ธานี” นับเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกปาล์ม มากที่สุดในประเทศ และเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO จำนวน 109,524.81 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8 ของพื้นที่ปลูกปาล์มในจังหวัด ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะเป็นต้นแบบเมืองปาล์มน้ำมันยั่งยืนของไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ ในงานปาล์มเม็ค ไทยแลนด์ 2022 ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการยกระดับสุราษฎร์ธานีสู่เมืองปาล์มน้ำมันยั่งยืน เพื่อเป็นต้นแบบการจัดการเมืองปาล์มน้ำมันยั่งยืนของประเทศไทย ณ อาคารศูนย์ประชุมนานาชาติอุบลรัตนราชกัญญา สหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด (โคออป)

โดย วิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับ มร.โจเซฟ เดอ ครูซ ประธานกรรมการบริหาร RSPO ชัยวุฒิ จิตต์นุพงศ์ นายกสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตริน พงษ์เภตรา ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี จรุงศักดิ์ สุรัฐชนานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผศ.กมลวรรณ เหล่ายัง ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเกษตร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และ รศ.สุชาดา ทิพย์มนตรี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

ต้นแบบเมืองปาล์มน้ำมันยั่งยืนของไทย

วิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การก้าวสู่ความเป็นเมืองที่ผลิตปาล์มอย่างยั่งยืนของ สุราษฎร์ธานี นี้ คือ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่มีการบุกรุกพื้นที่มาปลูกปาล์ม ที่สำคัญไม่ใช้แรงงานที่ผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน มีการถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ และนวัตกรรมในการผลิตปาล์มที่จะให้เกิดเป็นเมืองปาล์มยั่งยืนได้ ซึ่งมุ่งหวังจะเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้น้ำมันปาล์มในจังหวัดได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล โดยคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ค่าครองชีพที่เหมาะสมและสามารถเข้าถึงตลาดโลกได้

“สุราษฎร์ธานีพร้อมมาก ในการยกระดับสู่การเป็นเมืองปาล์มยั่งยืน เพราะเรามีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ หลายหน่วยงานที่ดูแลการขับเคลื่อน RSPO ทำให้สุราษฎร์ธานี เป็น เมืองปาล์มน้ำมันยั่งยืน ประกอบไปด้วย ภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม มาร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาปาล์ม และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร” วิชวุทย์ กล่าว

ด้าน มร.โจเซฟ เดอ ครูซ กล่าวถึงความสำคัญของความร่วมมือนี้ว่า โลกกำลังเผชิญกับปัญหาราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา ดังนั้น การเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศกับองค์กรสากลเพื่อร่วมกันหาทางออกที่ดีขึ้นได้เป็นสิ่งสำคัญ

“ความร่วมมือของภาคีพันธมิตรนี้ ถือเป็นก้าวที่สำคัญ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่นมีการประสานร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อมุ่งสู่วิถีความยั่งยืนและการนำไปสู่แนวทางปฏิบัติที่ดี ในขณะที่สามารถควบคุมผลกระทบด้านลบของการปฏิบัติที่ไม่ยั่งยืน นอกจากนี้ ยังช่วยให้มีแนวทางในการแก้ปัญหาความยั่งยืนในระดับรากหญ้า เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและแบ่งปันความเชี่ยวชาญภายในเขตการปกครองนั้น ๆ อีกด้วย” ประธานกรรมการบริหาร RSPO กล่าว

ชัยวุฒิ จิตต์นุพงศ์ นายกสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัด สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายปาล์มแปลงใหญ่ ได้รวบรวมสมาชิกชาวสวนปาล์มมน้ำมัน เข้ามาเป็นสมาชิกปาล์มแปลงใหญ่ เมื่อ RSPO เข้ามาเสริมให้มีความยั่งยืน ทำให้พวกเขา ได้เข้าใจถึงความรับผิดชอบทั้งต่อตัวเกษตรกรเอง ต่อสิ่งแวดล้อม ต่อวิถีชีวิตของเกษตรกร ทำให้ทราบแนวทางที่จะทำอย่างไรให้อาชีพของการทำสวนปาล์มมีความยั่งยืน มีการพัฒนาทำให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่

ปัจจุบัน สุราษฎร์ธานี เป็น “บ้าน” ของเกษตรกรชาวสวนปาล์มหลายพันคน ซึ่งกำลังจะเดินทางสู่การได้รับรองมาตรฐานปาล์มน้ำมันยั่งยืนระดับสากลของ RSPO ทั้งนี้ภาคีหลายภาคส่วนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ RSPO จะร่วมกันผลักดันและสนับสนุน ส่งเสริมในการสร้างความตระหนักถึงการพัฒนาน้ำมันปาล์มยั่งยืน ช่วยให้เข้าถึงตลาดโลก ขณะเดียวกันผู้ประกอบการน้ำมันปาล์ม ก็จะได้รับราคาพรีเมียม สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองความยั่งยืน

ทั้งนี้ พันธมิตรเกษตรกรรายย่อย RSPO ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีมากกว่า 4,000 คน รวมกว่า 30 กลุ่ม อาทิ สหกรณ์นิคมพนม วิสาหกิจชุมชนตาปี-อิปัน ผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไทรขึง – บางสวรรค์ ฯลฯ นับเป็นแบบอย่างสำหรับผู้ปลูกปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO สำหรับเกษตรกรรายย่อย เช่น การนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด การลดต้นทุนการผลิต ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และความมุ่งมั่นในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

จากข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบดังกล่าว ย่อมทำให้ความร่วมมือนี้ สามารถเติมเต็มความสมบูรณ์และการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายให้ สุราษฎร์ธานี เป็นต้นแบบเมืองปาล์มน้ำมันที่ยั่งยืนของประเทศไทย ผ่านความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในจังหวัด เพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนและการผลิตน้ำมันปาล์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งเน้นไปที่การรวมกลุ่มโดยการสร้างแบบจำลองที่ยั่งยืน ช่วยเพิ่มการเข้าถึงตลาดสำหรับน้ำมันปาล์มที่ได้รับการรับรอง และเสริมคำมั่นสัญญาในตลาด โดย RSPO จะแบ่งปันความรู้จากกรณีศึกษาที่มีอยู่เกี่ยวกับแนวทางเขตอำนาจในการรับรอง เพื่อช่วยในการจัดโครงการที่มีข้อผูกมัดในขอบเขตพื้นที่ต่อการรับรอง RSPO


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save