Solar PV Rooftop for Residential และ EERS (Energy Efficiency Resources Standards)


“โซลาร์ประชาชนกับมาตรการเชิงกลยุทธ์ EERS” ด้วยเหตุผลจากการที่ทั่วโลกตระหนักถึงผลกระทบและความรุนแรงจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้กระแสของการใส่ใจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระแสการอนุรักษ์พลังงาน และการใช้พลังงานสะอาด ทวีความสำคัญขึ้นอย่างมาก และเป็นกระแสที่ส่งผลต่อเนื่องมาถึงประเทศไทย ซึ่งภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคขนส่ง ภาคพลังงาน ต่างเร่งปรับตัวให้สอดรับกับกระแสของโลกนี้

1. สาระสำคัญของ EERS (Energy Efficiency Resource Standards)

EERS เป็นกลยุทธ์ในแผนอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นมาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอนุรักษ์พลังงานสำหรับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายพลังงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้พลังงานในภาพรวมของประเทศ ลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและลดภาวะโลกร้อน

การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นโครงการนำร่อง ในระหว่างปี 2561-2565 ให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ศึกษาถึงแนวทางหรือมาตรการการลดการใช้ไฟฟ้า รวมถึงการทดลองปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศให้ได้รวม 206 GWh ช่วงที่สอง ในระหว่างปี 2566-2579 ซึ่งปีแรกคือปี 2566 กระทรวงพลังงานได้วางเป้าหมายไว้ที่ 210 GWh มาตรการ EERS ทั้ง 3 ด้าน มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

1) มาตรการให้คำปรึกษา โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้า
2) มาตรการใช้แรงจูงใจทางการเงิน โดยสนับสนุนการเงินแก่กลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
3) มาตรการลักษณะภาพรวม (Mass) การรณรงค์ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเบอร์ 5

ซึ่งมาตรการ EERS ที่ประเทศไทยดำเนินการอยู่จะเน้นเฉพาะมาตรการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อการประหยัดพลังงาน (Reductions for Energy Use : MWh) แต่ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา จะใช้มาตรการลดความต้องการไฟฟ้า (Peak Demand : MW) หรือใช้ทั้งสองมาตรการควบคู่กัน โดยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) จะจัดเป็นมาตรการประหยัดพลังงานและมาตรการลดความต้องการไฟฟ้าใน EERS

EERS

ดังนั้น หากหน่วยงานรัฐมีความต้องการจะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสีเขียวหรือพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ การนำมาตรการเชิงกลยุทธ์ EERS ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงประสิทธิภาพแล้ว ยังน่าจะมีการเชื่อมโยงกับการลดความต้องการไฟฟ้า จากการนำพลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์พลังงานลม แบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน

EERS

2. EERS ในต่างประเทศ

ในต่างประเทศ ยกตัวอย่างกรณีของเมืองซานตาโมนิกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการนำมาตรการเชิงกลยุทธ์ EERS พลังงานสีเขียว และมาตรการลดความต้องการใช้ไฟฟ้า หรือ Demand Response มาใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการระบบไฟฟ้า โดยผ่านกลไกราคาที่จูงใจให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีส่วนร่วมในการลดใช้พลังไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการสูงสุด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสำรองไฟฟ้า ลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้ารองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด รวมทั้งช่วยบริหารจัดการความต้องการพลังไฟฟ้าให้สอดรับกับปริมาณพลังไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งหน่วยงานรัฐ องค์กรภาครัฐ เป็นผู้ทำการรวมภาระการใช้ไฟฟ้าของอาคารทั้งหมดของเทศบาลเมือง เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนการรวบรวมแบบพลังงานสีเขียว (Green Power Aggregation) ผู้บริโภคสามารถมารวมกันไม่เพียงเพื่อการต่อรองราคาเท่านั้น แต่อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้พลังงานที่ถูกกว่าและสะอาดกว่า โดยทั่วไปแล้วการรวบรวมโหลดจะถูกส่งเสริมเพื่อนำไปสู่การใช้ไฟฟ้าที่ถูกลง แต่อีกบทบาทที่สำคัญอาจรวมถึงการสร้างตลาดใหม่สำหรับพลังงานทดแทน

การรวบรวมพลังงานสีเขียวไม่ได้เป็นรูปแบบที่แปลกใหม่ ในความเป็นจริงแล้ว การรวบรวมโหลดที่กล่าวมาแล้วข้างต้นสามารถนำมาซื้อพลังงานสีเขียวได้ พลังงานสีเขียวถูกกำหนดเป็นกระแสไฟฟ้าที่มีทั้งการทดแทนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พลังงานสีเขียว เช่น พลังงานลม พลังงานที่มาจากแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน ยังคงมีปริมาณจำกัดในประเทศสหรัฐอเมริกาและยังมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการผลิตไฟฟ้าแบบดั้งเดิม แต่สำหรับราคาพลังงานสีเขียวจากพลังงานแสงอาทิตย์กลับมีราคาที่ถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าแบบดั้งเดิม

โดยการรวบรวมแบบพลังงานสีเขียว จัดเป็นกลไกของ Demand Response ที่มีแนวโน้มจะขยายตัวและเป็นเทรนด์ที่จะได้รับความยอมรับและนิยมกันต่อจากนี้ไป ทำให้สามารถเร่งการพัฒนาของตลาดพลังงานสีเขียวใน 3 วิธีที่สำคัญ ประการแรก เนื่องจากการรวมตัวกันสามารถลดราคาของพลังงานสีเขียว มันยังสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ทดแทนเป็นที่น่าสนใจแก่ผู้บริโภคในวงกว้าง การขยายฐานลูกค้าจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่ในสิ่งอำนวยความสะดวกที่ก่อให้เกิดพลังงานทดแทน ประการที่สอง การดำรงอยู่อย่างมั่นคงของกลุ่มสมาชิกในการรวบรวมโหลดเพื่อซื้อจัดหาพลังงานสีเขียวแสดงให้เห็นถึงความต้องการของตลาดหรือกระตุ้นการผลิตผลิตภัณฑ์สีเขียวมากขึ้น ประการที่สาม การจัดซื้อขนาดใหญ่ เช่น การรวบรวมโหลดโดยมีความ
สำคัญในระยะยาวและมีเสถียรภาพของความต้องการใช้พลังงานสีเขียว ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องยากมากที่จะชักจูงบุคคลในครัวเรือนเข้าสู่ระบบ

EERS

3. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของโซลาร์ประชาชน

นโยบายรัฐบาลที่ชัดเจนและสามารถตอบโจทย์เพื่อบรรลุเป้าหมายของโครงการโซลาร์ประชาชน 100 เมกะวัตต์ ปี 2562 อาจจะไม่ใช่แค่เพียงราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจากประชาชนในราคา 1.68 บาทต่อหน่วยเท่านั้น นโยบายที่จะส่งเสริมให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาดที่มาจากประชาชน ด้วยมาตรการจูงใจให้ภาคประชาชนสนใจมาทำโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้านอยู่อาศัย โดยนโยบายรัฐบาลที่ให้นำมาตรการเชิงกลยุทธ์ EERS ให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายพลังงาน ลงมาเป็นผู้ดำเนินการขับเคลื่อน ผลักดันและสนับสนุนมาตรการลดความต้องการไฟฟ้า (Peak Demand : MW) ดังเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ก็จะเป็นการช่วยประชาชนประหยัดพลังงานไฟฟ้า ช่วยให้ประเทศสามารถลดค่าพลังไฟฟ้าสูงสุดช่วงกลางวันและยังช่วยลดความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้ารองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้อีกด้วย

EERS


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 96 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2562 คอลัมน์ GREEN Focus
โดย นรินพร มาลาศรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารบริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save