โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคธรรมดาทั่วไป เป็นที่รู้จักดีอย่างแพร่หลาย แต่รายละเอียดของโรคยังไม่รู้กระจ่างและข้อปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร รวมถึงการปฏิบัติตัว เมื่อเกิดเป็นโรคนี้เพื่อช่วยการฟื้นฟูและแก้ไขให้โรคฟื้นตัวกลับสู่สภาพปกติ ยังปฏิบัติตัวได้ไม่ชัดเจน
กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบย่อยอาหารของร่างกาย ตำแหน่งกระเพาะอาหารอยู่บริเวณชายโครงซ้ายของร่างกาย เป็นอวัยวะที่ต่อจากหลอดอาหารที่มาจากบริเวณลำคอ เพื่อรับอาหารจากการเคี้ยวในช่องปากส่งต่อไปเพื่อการย่อยให้ละเอียดในกระเพาะอาหาร ถูกควบคุมการทำงานจากระบบประสาทอัตโนมัติ มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการย่อยอาหาร น้ำย่อยในกระเพาะอาหารมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ เพื่อทำการคลุกเคล้าให้อาหารและน้ำดื่มที่ผ่านการเคี้ยวจากฟันในช่องปาก กระเพาะอาหารมีหน้าที่ย่อยสารอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ให้ละเอียดและมีขนาดของอาหารให้เล็กลง เพื่อส่งต่อไปดูดซึมสารอาหารที่ผ่านการย่อยแล้วจากกระเพาะอาหารไปสู่ลำไส้ใหญ่ และกากอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายไปยังลำไส้ใหญ่เพื่อขับออกเป็นอุจจาระทางรูทวารหนักออกจากร่างกาย
ดังนั้น น้ำย่อยในกระเพาะอาหารถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงมีการหลั่งน้ำย่อยโดยอัตโนมัติตามระยะเวลา และทุกครั้งที่มีน้ำดื่มหรืออาหารตกถึงกระเพาะอาหาร ควรทานอาหารให้ตรงเวลา เพื่อมีอาหารให้น้ำย่อยได้ทำการย่อยอาหาร และพึงระวังอาหารรสจัด เผ็ด เปรี้ยว มัน เค็ม มีปัญหาต่อระบบย่อย และเป็นผลเสียต่อเยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร รวมถึงอาหารไม่เคี้ยวให้ละเอียดพอมีผลกระทบต่อเยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร นอกจากนี้คาเฟอีนและแอลกอฮอล์ จากกาแฟและเหล้า เบียร์ ไวน์ มีผลกระทบต่อเยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร รวมถึงยาบางอย่างที่รับประทานเป็นประจำ เช่น ยาแก้ปวด ยารักษาอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ยาคลายเส้น แก้ปวดเส้น เป็นต้น ล้วนมีผลระคายเคืองต่อเยื่อบุผิวกระเพาะ ภาวะอารมณ์เครียด หงุดหงิด พักผ่อนไม่เพียงพอ ล้วนแต่มีผลต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร จนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร มีตั้งแต่แผลถลอกเล็กน้อยจนถึงแผลใหญ่และลงลึกต่อเนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร อันเป็นเหตุให้พัฒนาเป็นโรคกระเพาะอาหาร เริ่มต้นจากการทานอาหารไม่ตรงเวลา ทานอาหารรสจัด ภาวะอารมณ์เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ มากเกินไป รับประทานยาที่ระคายเคืองต่อเยื่อบุผิวกระเพาะ ล้วนมีผลก่อให้เกิดโรคกระเพาะ น้ำย่อยผันผวน เป็นภาวะกรดไหลย้อน และพัฒนาเป็นแผลในกระเพาะและพัฒนาเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารในที่สุด
การรักษา หากมีอาการปวดท้อง จุกท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นประจำ รวมถึงมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยว จุกลิ้นปี่ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
การป้องกัน ที่ดีที่สุด ทานอาหารให้ตรงเวลา อิ่มพอควร และทานอาหารและดื่มน้ำที่มีประโยชน์ อารมณ์แจ่มใส ฯลฯ จะป้องกันโรคกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี
ที่มา: หมอโฆษิต