EU สนับสนุนการประเมินความเปราะบางของชุมชนเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในไทย ภายใต้โครงการ SUCCESS


โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) ในการดำเนินงานและปฏิบัติที่สอดคล้องกับแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 – 2593 และแผนปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Adaptation Plan: NAP) โดยโครงการเน้นการเสริมสร้างศักยภาพและทักษะของภาคประชาสังคม ท้องถิ่น และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดนโยบายและวางแผนการพัฒนาเมืองอย่างเป็นระบบเพื่อปรับตัวลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและจากภัยพิบัติ

เมืองในประเทศไทยมีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็วแต่การวางแผนยังไม่เพียงพอและทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ความต้องการและเข้าถึงทรัพยากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามมา และได้รับผลกระทบที่ไม่เท่าเทียมกัน ประกอบกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาเมืองให้มีความรุนแรงมากยิ่งขี้น โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องทางด้านน้ำ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และการขาดแคลนน้ำ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเหตุการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและไม่มีการวางแผนล่วงหน้ามาก่อนล้วนแล้วแต่ส่งผลให้การบริหารจัดการเมืองมีความยากและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งวิกฤตทางด้านอากาศและภัยพิบัติยังคงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยประเทศไทยได้ถูกจัดเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก ที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (รายงาน Global Climate Risk Index 2021 ของ German watch)

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ต้องให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบ วางแผน และพัฒนาเมือง เพื่อนำไปสู่การสร้างการเตรียมความพร้อมของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรมมากขึ้น

ขั้นตอนสำคัญที่จะนำสู่การปรับตัว และเตรียมความพร้อมของเมืองและชุมชนต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ “การประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โครงการ SUCCESS จึงทำงานร่วมกันกับองค์กรภาคประชาสังคมสนับสนุนการศึกษาประเมินความเปราะบางของชุมชนเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน 12 พื้นที่ใน 6 จังหวัด ภาคใต้ ได้แก่ พะตง ปาดังเบซาร์ ควนลัง และบ่อยาง จ.สงขลา, โตนดด้วน จ.พัทลุง และละงู จ.สตูล และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ขอนแก่น บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น, สระใคร หนองคาย จ.หนองคาย, หนองสำโรง สามพร้าว จ.อุดรธานี โดยประเด็นหลัก ได้แก่ ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง การขาดแคลนน้ำ และการกัดเซาะชายฝั่ง

โครงการ SUCCESS ได้ปรับวิธีการและเครื่องมือสำหรับการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้มีความเหมาะสมกับบริบทของภูมิภาค เพื่อค้นหาประเด็นความเปราะบางที่สำคัญของชุมชนให้เกิดความเข้าใจว่ากลุ่มคนที่แตกต่างกันมีความเปราะบางต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะกลุ่มคนด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มสตรี ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวจะนำมาใช้เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและสร้างการเตรียมความพร้อมอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

ทั้งนี้โครงการ SUCCESS เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) มูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรสาธารณประโยชน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (CSNM) Maastricht University (UM) และองค์กรภาคประชาสังคมท้องถิ่นใน 2 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติ ประกอบด้วย ดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ ศ.สุริชัย หวันแก้ว และ ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติที่ให้การสนับสนุนเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำการขับเคลื่อนโครงการ และมี ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา เป็นผู้พัฒนาโครงการและรับผิดชอบด้านวิชาการในฐานะผู้อำนวยการโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save