การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ RDF ด้วยเทคโนโลยี Gasification และ ORC (Organic Rankine Cycle) ผลิตไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 5kWh – 100 kWh ด้วยเทคโนโลยีที่ปลอดภัยและใช้เชื้อเพลิงน้อย ชุมชนสามารถคัดแยกขยะให้เป็น RDF (Refise Derived Fuel) ส่วนขยะอินทรีย์สามารถนำไปผลิตไฟฟ้าด้วยระบบ Biogas ก๊าซชีวภาพวิถีใหม่ เพื่อชุมชน (Biogas) ลดของเสียชุมชน เช่น ขยะอินทรีย์ เศษอาหาร และวัตถุดิบเหลือทิ้ง ด้วยเทคโนโลยี Dry Biogas ไม่มีน้ำเสีย ถังหมักแบบโลหะ เคลื่อนย้ายได้สะดวก พร้อมระบบพลิกกลับ มีขนาดตั้งแต่ 0.5 ตันต่อวัน จนถึงขนาด 2.5 ตันต่อวัน ก๊าซชีวภาพสามารถใช้เป็นพลังงานความร้อน หรือผลิตไฟฟ้าใช้ในชุมชน ชีวมวลพลังงานเพื่อชีวิตวิถีใหม่ ด้วยเทคโนโลยี Gasification และ ORC (Organic Rankine Cycle) ออกแบบสำหรับชีวิตวิถีใหม่ ใช้เชื้อเพลิงได้เกือบทุกชนิดจากเศษเหลือทิ้งภาคเกษตร เช่น ทลายปาล์ม เหง้ามันสำปะหลัง เศษไม้ เศษไผ่ ซังข้าวโพด กิ่งไม้ ใบไม้ ใบอ้อย ทางปาล์ม ประหยัดเชื้อเพลิงปลอดภัยจากมลพิษ ไบโอดีเซลชุมชนจากน้ำมันใช้แล้ว ไบโอดีเซล คือ การนำน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ รวมทั้งน้ำมันใช้แล้วจากการปรุงอาการ นำมาทำปฏิกริยาทางเคมี กับแอลกอฮอล์ เรียกอีกอย่างว่า ทรานเอสเทอริฟิเคชั่น มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมาก และสามารถใช้กับชุมชนกับเครื่องยนต์ทางการเกษตรได้ โซล่าเซลล์ชุมชน สนับสนุนเกษตรกรรม ผลิตไฟฟ้าและสูบน้ำบาดาล พลังงานจากไฟฟ้า ยุค Covid-19 ยิ่งสำคัญมากขึ้น เนื่องจากไทยต้องพึ่งพาตนเองและเกษตรกรในหลายพื้นที่ยังขาดแคลนน้ำและไฟฟ้าในราคาถูกลง คำตอบสุดท้ายคือพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ |
พลังงานชุมชนวิถีใหม่ เป็นการยำใหญ่นโยบายและ แนวคิดของภาครัฐมารวมกับแนวคิดภาคเอกชน และวิสาหกิจ ชุมชน ภายใต้แนวคิด “Energy for All – พลังงานของทุกคน” ดังนั้นวันนี้พลังงานชุมชนจึงไม่ใช่แค่เตาอั่งโล่ไฮเทค เนื่องจาก ชุมชนมีการพัฒนาความรู้ ความสามารถมากขึ้น จึงต้องการผลิตพลังงานด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมี การถ่ายทอดเทคโนโลยีและฝึกอบรมเพื่อให้เกิดทีมช่างชุมชน ดูแลเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ภาครัฐให้การสนับสนุนตลอดอายุการใช้งาน เป้าหมายพลังงานชุมชนตามแนวคิด Energy for All มุ่งเน้นให้ชุมชนสร้างพลังงานหมุนเวียน โดยใช้วัตถุดิบหรือของเสีย ของเหลือใช้ในชุมชนนั้นๆ เพื่อความยั่งยืน ทั้งนี้รวมถึงพลังงานจากแสงอาทิตย์เชื้อเพลิงพลังงานที่ไม่มีต้นทุน
มีหลายๆ เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและชุมชนสามารถใช้งานและซ่อมบำรุงได้เอง เช่น เทคโนโลยี Gasification, Biogas, Biodiesel ชุมชน และการสูบน้ำด้วยพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ รวมทั้งระบบกักเก็บพลังงาน วันนี้ผู้เขียนอยากจะแนะนำเทคโนโลยีที่เก่าแก่ที่ขาดการพัฒนาในประเทศไทย ถึงแม้จะมีผลงานวิจัยมากมายในมหาวิทยาลัย นั่นคือ Organic Rankine Cycle : ORC
เทคโนโลยีวัฏจักรแรงคินสารอินทรีย์ (Organic Rankine Cycle : ORC) สามารถผลิตไฟฟ้าจากแหล่งความร้อนอุณหภูมิต่ำหรือความร้อนทิ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สารอินทรีย์ที่มีมวลโมเลกุลสูง ที่มีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำเป็นสารทำงาน (Working Fluid) จึงเป็นเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าทางเลือกที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงและ ลดมลภาวะได้ เหมาะสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากความร้อนทิ้งในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และ การผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงทางเลือก เช่น ความร้อนทิ้งจากปล่องไอเสียและจากเครื่องยนต์ การใช้เชื้อเพลิงชีวมวลหรือเชื้อเพลิงขยะ (RDF) การใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือน้ำพุร้อนเป็น แหล่งความร้อน เป็นต้น
โลกของเราต้องการพลังงานมา สนับสนุนเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น การจัดหาพลังงาน ที่จำเป็นให้แก่ประชากร จึงต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดกับโลกของเรา และตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นการพัฒนาและใช้พลังงานหมุนเวียน จึงเป็นวิถีใหม่ของการใช้พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังงานชุมชนที่ใช้ของเหลือใช้จาก ภาคเกษตรกรรมมาใช้ผลิตพลังงาน และ รูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานทดแทนแบบครัวเรือนก็คือ 1. ทันสมัย 2. ใช้เชื้อเพลิงท้องถิ่น 3. มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม 4. เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม 5. รัฐอุดหนุนโครงการนำร่อง
Energy for All สอดคล้องกับพลังงานชุมชนวิถีใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดของโรงไฟฟ้าชุมชน ที่ให้ชุมชนแต่ละครัวเรือน มีส่วนได้ (Stakeholder) ไม่ใช่แค่มีส่วนร่วมเหมือนในอดีต และท่านทราบไหมว่า นี่คือวิถีใหม่ของพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทนของเมืองไทยในอนาคต ไม่ว่าจะสร้างโรงไฟฟ้า VSPP หรือ SPP จากเชื้อเพลิงใด ก็ตาม ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าควรจะมีส่วนได้โดยตรงจากค่าขายไฟฟ้าอย่างเป็นธรรม จะมากน้อยเท่าใดคงต้องร่วมกันคิด วันนี้พลังงานไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของทุกคน Energy for All
Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 99 พฤษภาคม-มิถุนายน 2563 คอลัมน์ Energy โดย พิชัย ถิ่นสันติสุข