“อาคารธนพิพัฒน์” อาคารประหยัดพลังงานใส่ใจสิ่งแวดล้อม รางวัล Energy Efficiency Award


ด้วยบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ได้มีพันธกิจและกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยผู้บริหารได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้การออกแบบอาคาร ก่อสร้างอาคารให้เป็นอาคารเขียว (Green Building) เพื่อให้การก่อสร้างและการใช้อาคารเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลดีในด้านบวกต่อสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาในการใช้ประโยชน์ของอาคาร และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จนได้รับรางวัลฉลากแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานดีเด่น ประจำปี 2562 จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจจริงและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของผู้บริหารในความมุ่งมั่นก่อสร้างอาคารประหยัดพลังงาน

บริษัทฯ จึงมีแนวคิดในการย้ายสำนักงานให้ไปอยู่รวมกัน ณ ที่แห่งใหม่ภายในศูนย์ราชการฯ คือ อาคารธนพิพัฒน์ เป็นอาคารประหยัดพลังงานที่มีการออกแบบภายใต้แนวคิดการนำรูปทรงปีกนกวายุภักษ์มาเป็นโครงของตัวอาคาร สื่อถึงความเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงการคลังและกรมธนารักษ์ มุ่งเน้นออกแบบให้เป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า คำนึงถึงประสิทธิภาพการใช้งานในอนาคต ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง ไปจนถึงการบำรุงรักษาอาคารที่คำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน โดยเน้นทั้งความโดดเด่นของการออกแบบควบคู่กับนวัตกรรมที่ยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากธรรมชาติแสง และน้ำ ควบคู่กับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงาน เป็นอาคารที่คำนึงถึงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ไปจนถึงกระบวนการก่อสร้างโดยใช้หลักการของการใช้

ปัจจัยธรรมชาติเพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่กรอบอาคาร (Passive Design) โดยการกำหนดให้มีแผงบังแดดของอาคารให้ปรับองศาตามทิศทางของการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ เพื่อป้องกันความร้อนจากรังสีอาทิตย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระบบผนังอาคารมีสมรรถนะสูงสามารถลดทั้งการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าส่องสว่าง เพื่อให้อาคารประหยัดพลังงานและเป็นอาคารยั่งยืนตามมาตรฐานสากล เพื่อเป็นต้นแบบตัวอย่างมาตรฐานและองค์ความรู้ในการลดการใช้พลังงานของอาคาร และการบริหารโครงการตามแนวทางของอาคารยั่งยืนและเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการปรับปรุงอาคารอื่นๆ ต่อไป จนได้ใบรับรองระดับ Platinum จากสภาก่อสร้างอาคารอย่างยั่งยืนของเยอรมัน (Deutsche Gesellschaft Fur Nachhaltiges Bauen หรือ DGNB) ประกอบด้วยคุณภาพทางสังคม คุณภาพทางสิ่งแวดล้อม คุณภาพทางเศรษฐกิจ คุณภาพทางเทคนิค คุณภาพของสถานที่ก่อสร้าง

Green Building Materials อาคารธนพิพัฒน์

อาคารอนุรักษ์พลังงานที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมแห่งนี้ ได้ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า คำนึงถึงประสิทธิภาพการใช้งานในอนาคต ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง ไปจนถึงการบำรุงรักษาอาคารที่คำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ทั้งพลังงาน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม โดยเน้นการออกแบบควบคู่กับนวัตกรรมที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการใช้แผงบังแดดปรับทิศทางอัตโนมัติตามทิศทางของแสงแดด ควบคู่กับการใช้กระจก Low-E และการติดตั้งฉนวนบริเวณผนัง ฝ้าเพดาน และหลังคา เพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร การใช้ระบบ Energy Recovery Wheel หรือระบบปรับอากาศที่นำความเย็นจากอากาศที่ปล่อยทิ้งจากการทำความเย็นในอาคารมาแลกเปลี่ยนพลังงานกับอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกอาคาร มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV) พร้อมระบบควบคุมและบันทึกค่าพลังงานเพื่อควบคุมการใช้พลังงานมีสถานีชาร์จไฟฟ้า เพื่อรองรับและส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพร้อมทั้งเปิดให้บริการรถยนต์ไฟฟ้าขนส่งสาธารณะภายในโครงการ มีระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน ให้ระดับความสว่างที่เหมาะสมและมีการป้องกันการสะท้อนเข้าตา ซึ่งมีการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานทั้งอาคาร มีพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อน จึงนับว่าเป็นอาคารสำนักงานและอาคารภาครัฐแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว และยังเป็นต้นแบบของอาคารภาครัฐต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้อาคารอนุรักษ์พลังงานสำหรับภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา

อาคารธนพิพัฒน์

สรุปได้ว่า อาคารธนพิพัฒน์ เป็นอาคารสำนักงานยุคใหม่ที่สมรรถนะสูงเต็มไปด้วยนวัตกรรมมีความรับผิดชอบในการรักษาสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดวงจรอายุของอาคาร โดยคำนึงถึงคุณภาพของผู้ใช้งานอาคารและส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน และลดของเสียมลภาวะต่างๆ ที่เกิดจากอาคาร เพื่อลดการใช้ทรัพยากรของโลกซึ่งกำลังเป็นปัญหาอย่างมากในปัจจุบัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคุณอาจสนใจ


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 96 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2562 คอลัมน์ GREEN Building โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save