สัมมนา “ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop)”


สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ร่วมกับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และวิทยาลัยพลังงานทดแทนและ สมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาเชิงวิชาการ “ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop): นโยบาย การออกแบบ การเลือกอุปกรณ์ การจัดหาผู้รับเหมา ระเบียบ มาตรฐานการติดตั้ง และการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์สำาหรับระบบผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) และบนพื้น (Solar Farm)” ในระหว่างวันที่ 8 – 10 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. พร้อมเข้าร่วมหลักสูตรพิเศษ การออกแบบและการวิเคราะห์ความคุ้มทุนของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน โดยใช้โปรแกรม PVsyst และ Home Pro ในวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ

พลังงานจัดเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนา พลังงานทดแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่มีวันหมด ดังนั้น เพื่อให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ลงทุน ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้ง และผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย การออกแบบ การเลือกอุปกรณ์ การจัดหา ผู้รับเหมา รวมทั้งมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า และข้อกำหนดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง โดยปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ร่วมกับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และวิทยาลัยพลังงานทดแทนและ สมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัด ให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการ “ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop): นโยบาย การออกแบบ การเลือกอุปกรณ์ การจัดหาผู้รับเหมา ระเบียบ มาตรฐานการติดตั้ง และการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์สำหรับระบบผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) และบนพื้น (Solar Farm)” ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนวิชาการจาก พพ., บีโอไอ, กฟผ., กฟภ., กฟน., ผู้ออกแบบและผู้ผลิต บริษัทผู้ประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติ โดยตรง

วัตถุประสงค์การจัดสัมมนาฯ

  1. สร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน แก่ผู้สนใจลงทุน ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้ง ตลอดจนวิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง
  2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประเมิน ทดสอบ บํารุงรักษา ปัญหาอุปสรรค และเทคนิคการแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย
  3. เปิดโอกาสให้ปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าสัมมนาทุกคน และรับทราบแนวทางในการดําเนินการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา
  4. การอบรมเชิงปฏิบัติการที่เน้นการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อให้สามารถนําไปใช้งานได้จริง โดยใช้โปรแกรม Homer Pro และ PVsyst

กลุ่มเป้าหมาย

  1. วิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
  2. ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
  3. ผู้สนใจลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
  4. บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง และ บุคคลทั่วไปที่สนใจ

ผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา สามารถดูรายละเอียดหัวข้อการบรรยายเพิ่มเติม และลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.greennetworkseminar.com/solar2

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0-2354-5333 ต่อ 500 / 503 e-mail : seminar@greennetworkseminar.com


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save