EEC ระเบียงเศรษฐกิจเพื่อดึงดูดนักลงทุน กับกุญแจดอกที่ 10 Energy and Environment

ท่านที่ติดตามฟังสัมมนาและอ่านเอกสารแล้ว หากยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมี EEC : Eastern Economic Corridor ใช้ชื่อภาษาไทยที่จำยากหน่อยว่า “เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” ซึ่งหมายรวมเพียงจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยรัฐได้ทุ่มทุนกว่า 1.7 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการนี้…

กัญชา กัญชง จากสุดยอดสมุนไพร สู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ กระดาษ ยานยนต์ และเครื่องสำอางค์

ผู้คิดปลดล็อกกัญชา กัญชง รวมถึงพืชกระท่อม ออกจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 นับว่าเป็นบุคคลที่มีอัจฉริยะวิสัยทัศน์ ไม่ว่าท่านจะเป็นใคร แต่จงภูมิใจเถอะว่า ท่านได้ทำประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ต่อแผ่นดินไทยแล้ว แต่มันไม่ง่ายเลยใช่ไหมท่านผู้อ่านสำหรับการที่ต้องฝ่าฟันผ่านความเชื่อของหลายๆ ฝ่ายว่า สมุนไพรเหล่านี้คือ “ยาเสพติด” พิษภัยมากมี ต้องฝ่าฟันผ่านความรู้สึกของแพทย์แผนปัจจุบัน และที่สำคัญต้องฝ่าฟันกฎระเบียบต่างๆ…

แบตเตอรี่ Li-ion 1GWh เกิดขึ้นแล้วที่ฉะเชิงเทรา Blue Tech City The Future for Today

จากความฝันอันไร้ขีดจำกัดของวิศวกรหนุ่มที่เคยได้ทำงานด้านการวิเคราะห์โครงการ จากวันนั้นได้สร้างและน้ำพา E@ : Energy Absolute ผ่านร้อนผ่านหนาวจนแข็งแกร่งในโลกของพลังงานบริสุทธิ์ จวบจนวันนี้ E@ ได้ก่อให้เกิด บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด…

กำจัดขยะติดเชื้อแบบไม่ต้องเผา Zero Waste Zero Emission

คำกล่าวโบราณที่ว่า “กวาดขยะซ่อนไว้ใต้พรม” ก็ถือว่าสะอาดแล้ว แต่แท้ที่จริงปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข ไม่ต่างอะไรกับการกำจัดขยะติดเชื้อและขยะจาก COVID-19 ซึ่งภาครัฐเองก็ตกที่นั่งกลืนไม่เข้า คายไม่ออก ทำเป็นเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ เนื่องจากชุมชนไม่ยอมรับเตาเผาขยะติดเชื้อ จึงไม่สามารถสร้างเพิ่มได้ ส่วนเตาเผาขยะติดเชื้อที่มีอยู่ในปัจจุบัน รัฐก็ผ่อนผัน ไม่ได้ตรวจมลพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารไดออกซิน…

การแก้ไขปัญหาขยะอาหารในเอเชีย ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจะเป็นผู้นำในการลดขยะอาหารได้อย่างไร

รายงานฉบับใหม่ของ Food Waste Index Report ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Programme) เปิดเผยว่า ในแต่ละปีมีอาหารกว่า 1.3 พันล้านตันถูกทิ้งเป็นขยะ ซึ่งคิดเป็นประมาณเกือบหนึ่งในสามของอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมด โดยเป็นขยะอาหารจากครัวเรือนสูงถึง 60%…

GO GREEN ไปกับ BCG … Zero Waste Zero Emission

การลดก๊าซเรือนกระจกกำลังเป็นคลื่นลูกเก่าที่จะกลับถาโถมเข้าหาเศรษฐกิจไทยหลังไวรัส COVID-19 มาเยือน เรื่องของการลดก๊าซเรือนกระจกดูเหมือนจะเป็นอาหารจานโปรดของนักวิชาการและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในฐานะภาคเอกชนมีข้อสังเกตถึงกฎกติกาต่างๆ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีขั้นสูงในการลดก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นภาครัฐจึงควรก้าวตามแบบรักษาระยะห่าง มิฉะนั้นเราอาจกลายเป็นอาหารจานโปรดของผู้กำหนดกฎกติกาโลกก็เป็นได้

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภัยร้ายของสังคมเทคโนโลยี

ปัจจุบันเราสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่าเราอยู่ในสังคมเทคโนโลยีเต็มรูปแบบ และใช้ชีวิตได้ยากมากหากปราศจากเทคโนโลยี ซึ่งเทคโนโลยีในทุกวันนี้ก็ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพียงแค่คุณนอนหลับไปไม่กี่ชั่วโมงพอตื่นขึ้นมาเราก็มี นวัตกรรมและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นใหม่ ๆ เกิดขึ้นแล้ว แน่อนเมื่อมีของใหม่ย่อมต้องมีของเก่า และของเก่าก็แปรสภาพกลายเป็นขยะไป แต่ทั้งของใหม่และของเก่าก็จะต้องผ่านกระบวนการผลิตเสียก่อนถึงจะเกิดขึ้นได้ และกระบวนการ การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้นี่เอง ที่ก่อให้เกิดอันตรายในระดับร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกใบนี้ นั่นคือก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect)…

ปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของสังคมไทย

โดย ศ. ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล; ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา; ภาวินี พงศ์พันธ์พฤทฺธิ์; รัชนัน ชำนาญหมอ; ดร.อริสรา เพียรมนกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. ความเป็นกลางทางคาร์บอน…

แสงอาทิตย์ พลังงานของทุกชนชั้น Energy for All

ไม่ว่าคุณจะถูกจัดอันดับให้เป็นอภิมหาเศรษฐีของโลก หรือเป็นกลุ่มผู้ยากจนพิเศษที่รัฐต้องเลี้ยงดู ก็ล้วนอยู่ภายใต้ดวงอาทิตย์ดวงเดียวกัน และสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ก็ล้วนต้องพึ่งพาดวงอาทิตย์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดวงอาทิตย์นอกจากจะช่วยให้โลกเรามีแสงสว่าง มีกลางวัน กลางคืน มีน้ำขึ้นน้ำลงแล้ว พลังงานทุกชนิดบนโลกใบนี้ที่เราใช้อยู่ล้วนมาจากดวงอาทิตย์ คนไทยนิยมเรียกดวงอาทิตย์ว่า ดวงตะวัน และยังได้เปรียบเปรยผู้มีอำนาจว่าดั่งดวงตะวันอีกด้วย

“ไมโครกรีน” ผักจิ๋ว แต่คุณประโยชน์สูง…ทางเลือกใหม่ของผู้รักสุขภาพ “ทานน้อยแต่ได้ประโยชน์มาก”

“ผัก”ล้วนมีสารอาหารที่มีคุณประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย ในปัจจุบันไมโครกรีน (Microgreen) กำลังได้รับความนิยมของผู้ที่ชอบทานผักและรักสุขภาพ เพราะคุณสมบัติพิเศษของไมโครกรีนที่อุดมไปด้วยสารอาหารและสารพฤกษเคมีสูง ‘ผักขนาดจิ๋วกินน้อยแต่ได้ประโยชน์มาก..รูปแบบใหม่ของการบริโภคผัก’

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมกับภาวะน้ำประปาเค็ม

จากสถานการณ์น้ำประปาเค็มในเขตกรุงเทพมหานครในช่วงต้นปีที่ผ่านมา นำมาซึ่งคำถามของภาคประชาชนถึงสาเหตุและการนำน้ำประปามาใช้อุปโภค-บริโภค โดยน้ำประปาที่จ่ายให้แก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกในช่วงดังกล่าวมีค่าความเข้มข้นของคลอไรด์สูงกว่าค่ามาตรฐานน้ำประปาดื่มได้ ที่กำหนดให้น้ำประปามีปริมาณคลอไรด์ไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อลิตร[1] และมีช่วงเวลาเกิดน้ำประปาเค็ม 6-12 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหากนำไปบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทั้งเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีอาการบางประการ เช่น โรคไตหรือความดันโลหิตสูง

ผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพจากมลพิษฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 และข้อปฏิบัติตัวที่สำคัญ

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยมีความเป็นห่วงผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพจากมลพิษฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย หรือจังหวัดใกล้เคียง โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กล่าวไว้ว่า “การหายใจด้วยอากาศที่มีคุณภาพถือเป็น “สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน” ดังนั้นเมื่ออนุภาคมลพิษอากาศขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน…

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save